มารู้จักกับ SMS OTP กัน ในปัจจุบันเราสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย อย่างเช่น สั่งซื้อของ, สั่งจองสินค้าอะไรต่างๆ แล้วยังสามารถจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย ทำให้สร้างสะดวกสบาย และประหยัดเวลามากให้กับลูกค้า แต่เนื่องจากบริการในลักษณะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อมูลสำคัญของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น บัญชีธนาคาร, บัตรเครดิต รวมไปถึงประวัติส่วนตัวของลูกค้า จึงได้มีการคิดค้นระบบการจัดการด้านความปลอดภัยเพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันบัญชีของลูกค้า และหนึ่งในวิธีดังกล่าวก็คือการสร้างขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้ ซึ่งจากเดิมที่เรามีเพียงแค่ ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้งานระบบต่างๆ แต่มาตรการความปลอดภัยขั้นพื้นฐานยังต้องได้รับการพัฒนาให้ทันต่อเล่ห์กลของแฮคเกอร์ (Hacker) จึงเป็นที่มาของการหาวิธีการพิสูจน์ตัวตนเพิ่มเติมในวิธีที่แตกต่างกันออกไป เพราะยิ่งมีวิธีการที่หลากหลาย จะยิ่งเป็นการยากที่แฮคเกอร์จะเข้าถึงข้อมูลได้มากเท่านั้น
2-FA (Two-Factor Authentication) คืออะไร
โดยคำจำกัดความของ 2-FA คือการเพิ่มขั้นตอนในการระบุตัวตนของผู้ใช้งานโปรแกรมให้มีการแสดงฐานะการเป็นเจ้าของบัญชีนั้นๆ เพื่อเข้าใช้งานได้อย่างถูกต้อง โดยจะใช้วฺธีการยืนยันตัวตนด้วยกัน 2 วิธี โดยวิธีการพิสูจน์ตัวตนนั้นจะต้องมาจากประเภทของแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งแหล่งข้อมูลดังกล่าวอาจมาจาก
- สิ่งที่ตัวเองทราบอยู่แล้ว
- สิ่งที่ตัวเองมีหรือครอบครองอยู่แล้ว
- บางส่วนของร่างกายของตัวเอง
ตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจ และเห็นภาพได้ง่ายเพื่ออธิบายความเป็น 2-FA ก็คือบัตรเอทีเอ็มของคุณนั่นเอง ในการกดเงินสดจากตู้ จะต้องใช้ 2 สิ่ง ซึ่งก็คือตัวบัตร ที่เป็นสิ่งที่ตัวเองมีหรือครอบครองอยู่ และอันที่ 2 ก็คือรหัส PIN 4 หลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองทราบอยู่แล้ว หรือหากเคยดูภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับองค์กรสืบราชการลับ แล้วได้เห็นการที่เจ้าหน้าที่สายลับสแกนม่านตา หรือสแกนลายนิ้วมือ พร้อมกับกดรหัสส่วนตัวก่อนเข้าไปภายในองค์กร นั่นก็ถือเป็นการใช้ 2-FA วิธีหนึ่ง เพราะม่านตา และลายนิ้วมือ ก็คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย และรหัสคือสิ่งที่ทราบ และถูกจดจำไว้นั่นเอง
เพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันผู้ลักลอบใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาติ ในระบบต่างๆ ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่มีความสำคัญ มักเลือกที่จะใช้ 2-FA เสมอ ในขณะที่ถ้าเป็นระบบที่มีความสำคัญไม่มากนัก จะใช้ขั้นตอนการระบุตัวตนแค่ขั้นเดียว เรียกว่า One Factor Authentication ตัวอย่างเช่น การใช้งาน Free e-Mail ส่วนตัวทั่วไป ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีการกรอก username และกรอกรหัสผ่านเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในเวลาที่จะเข้าใช้งาน ซึ่งปัจจุบัน วิธีดังกล่าวไม่ดีเพียงพอหากต้องใช้เพื่อรักษาความลับหรือข้อมูลทางการเงินที่มีความสำคัญ
ดังนั้นการใช้ 2-FA จึงเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับระบบหรือโปรแกรมปฏิบัติการต่างๆ ที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ ซึ่งวิธีการหรือรูปแบบในการใช้ 2-FA ก็แตกต่างกันออกไปตามความต้องการและความจำเป็นของธุรกิจหรือบริการแต่ละประเภท สำหรับธนาคารหรือบริการส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร การใช้งาน One-Time Password หรือ OTP ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ 2-FA นั้นเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดและได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงและไว้ใจได้
One-Time Password คืออะไร
OTP (One-Time Password) หรือรหัสผ่านแบบใช้ได้ครั้งเดียวนั้น คือรหัสผ่านที่สามารถนำมาใช้งานได้เพียง 1 ครั้ง และหลังจากนั้นรหัสผ่านนี้ก็จะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก ดังนั้นจึงเท่ากับว่าหากมีการทำธุรกรรมรายการใดก็ตามที่ต้องอาศัย โอทีพี ผู้ใช้บริการจะได้รับรหัสชุดใหม่ทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น รหัสแรกที่ได้รับคือ “123456” ใน 2 นาทีต่อมาหากมีการทำรายการอีกครั้ง รหัสจะเปลี่ยนเป็นเลขอื่นที่ไม่ใช่ 123456 อีกต่อไป ฉะนั้นจึงเป็นการยากต่อผู้อื่นในการที่จะคาดเดาได้ว่า รหัส โอทีพี ของผู้ใช้บริการในนาทีนั้นคืออะไร
วิธีการที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ OTP นั้น โดยทั่วไปจะมี 2 วิธีหลักๆ คือ
- ส่งผ่านอีเมล ซึ่งจะเป็นอีเมลที่ได้ให้กับทางธนาคารหรือบริการนั้นๆ
- ส่งผ่านบริการส่ง SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเบอร์ที่จะส่งไปก็จะเป็นเบอร์ที่ได้ให้ไว้กับธนาคารหรือบริการนั้นๆ
โดยขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการนั้นจะส่งรหัสไปทางไหน หลังจากที่เราได้รหัสมาแล้วก็นำไปใช้ยืนยันตัวตนกับธนาคารหรือบริการที่เราได้ขอรหัสไป เพื่อเสร็จสิ้นการยืนยันตัวตนด้วยโอทีพีจากที่กล่าวมาถ้าใครก็ตามที่ทราบถึงรหัสในขณะนั้นของเราก็เท่ากับว่าคนที่รู้รหัสก็สามารถยืนยันตัวตนบัญชีของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นหลังจากได้รับรหัสแล้วควรเก็บรหัสนั้นไว้เป็นความลับ และไม่ส่งไปให้ใครโดยเด็ดขาดเพื่อปกป้องข้อมูลของคุณเอง
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นมุมมองของผู้ใช้บริการที่รับรหัส แล้วนำไปใช้ยืนยันตัวตนในระยะเวลาที่กำหนด เรามาพูดถึงมุมมองของผู้ให้บริการกับบ้างดีกว่า
ในปัจจุบันจะมีบริการส่ง SMS บนเว็บไซต์หลายๆ เว็บที่มีระบบการส่งแบบโอทีพี โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องเขียนโค้ดเลยแม้แต่บรรทัดเดียว ซึ่งสิ่งที่เราต้องทำเองก็คือ
- ตั้งชื่อแอปของระบบ โอทีพี นั้นของคุณ
- เขียนรูปแบบข้อความที่จะส่งให้กับผู้ใช้บริการ
- เลือกความยาวรหัส โอทีพี ที่ต้องการ โดยปกติจะไม่น้อยกว่า 4 ตัวอักษร และจะไม่เกิน 10 ตัวอักษร
- เลือกระยะเวลาในการยืนยันตัวตน เพื่อกำหนดเวลาที่จะสามารถใช้รหัส โอทีพี ยืนยันได้ หากเลยเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถใช้งานรหัส โอทีพี นั้นในการยืนยันตัวตนได้
- ตั้งจำนวนครั้งในการกรอกผิดพลาด เมื่อผู้ใช้งานกรอกรหัส โอทีพี ผิดถึงจำนวนที่กำหนดภายในระยะเวลายืนยันตัวตน รหัส โอทีพี นั้นก็จะไม่สามารถใช้งานได้ ต้องทำการขอรหัสเพื่อทำรายการใหม่อีกครั้ง
เพียงเท่านี้คุณก็จะได้แอปโอทีพีที่คุณต้องการแล้ว แล้ววิธีที่จะนำแอปโอทีพีที่คุณสร้างนำไปใช้งานต่อ ก็คือ App Key และ App Secert ที่ได้มานั่นเอง โดย 2 อย่างที่กล่าวมาจะเป็นตัวอ้างอิงถึงแอปโอทีพีของคุณ โดยแต่ละเว็บไซต์ที่ให้บริการโอทีพีนี้ก็จะมีคู่มือแนะนำการนำแอปโอทีพีไปใช้งานต่อได้
แล้วข้อความที่ผู้ใช้บริการได้รับควรจะเป็นแบบไหน ทางเราขอนำเสนอตัวอย่างข้อความ OTP ที่เป็นที่นิยมเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเริ่มต้นใช้งาน โอทีพี ของคุณ
ตัวอย่างข้อความ OTP ยอดนิยม
- รหัสยืนยันที่ใช้ในการรับสิทธิ์คือ xxxxxx
- รหัสยืนยันของ (บริษัท / ผู้ส่ง) คือ : xxxxxx กรุณายืนยันตัวตนภายในเวลาที่กำหนด
- (บริษัท / ผู้ส่ง) ได้ทำการส่งรหัสยืนยันมาให้คุณ : xxxxxx
- รหัสยืนยันตัวตนของ (บริษัท / ผู้ส่ง) คือ xxxxxx มีอายุการใช้งาน (เวลา) นาที โปรดอย่าแสดงรหัสนี้ให้ผู้อื่น
- (บริษัท / ผู้ส่ง) ได้ทำการส่งรหัสผ่านให้คุณแล้ว : xxxxxx
- รหัสยืนยันนี้มีระยะเวลา (เวลา) นาที xxxxxx โปรดยืนยันตัวตนภายในเวลาที่กำหนด
- รหัสยืนยันตัวตนของคุณคือ xxxxxx โปรดอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น
- รหัสยืนยันคือ xxxxxx (เลขที่อ้างอิงการทำรายการ)
- รหัสยืนยันของคุณคือ xxxxxx โปรดใส่รหัสเพื่อทำรายการ รหัสมีอายุ (เวลา) นาที
- โปรดยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่าน : xxxxxx
และนี้เป็นเพียงตัวอย่างข้อความ โอทีพี ที่บรรดาธุรกิจจำนวนมากนิยมเลือกใช้งานกัน โดยปัจจัยหลักๆ ที่บ่งบอกความสำคัญอยู่ 2 ข้อใหญ่คือ
- ระบุชื่อผู้ส่งชัดเจน (ในกรณีที่ได้ระบุมาในข้อความ แต่ตัวผู้ส่งข้อความ SMS จะถูกะบุชื่อจากเบอร์ที่ใช้ส่งอยู่แล้ว)
- ระบุรหัสยืนยันตัวตน หรือ โอทีพี มาชัดเจน อาจมีตั้งแต่ 4 หลัก จนไปถึง 10 หลัก เป็นต้น
ต่อมาเราลองมาดูดัวอย่างการใช้งานจริงกัน
6 ตัวอย่างการใช้ Verify เพื่อความปลอดภัยของธุรกิจ
- การยืนยันตัวตน ในการลงทะเบียน
- ยืนยันตัวตน สำหรับการ Upgrade
- การตั้งรหัสใหม่ หรือการ Reset Password
- การที่ผู้ใช้งานกลับมาใช้ใหม่ หลังจากไม่ได้ใช้งานมานาน
- การปรับเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้งาน
- ยืนยันตัวตน เวลาทำรายการ (Authenticate Transaction)
จาก 6 ตัวอย่างที่กล่าวไปจะใช้บริการ โอทีพี แล้วเราจะเห็นได้ว่า “การยืนยันตัวตน” หรือ Verify นั้นสำคัญสำหรับธุรกิจที่ให้บริการแบบออนไลน์ทีเดียวเพื่อรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการให้ปลอดภัย และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณได้อีกด้วย
สำหรับธุรกิจไหนที่จำเป็นต้องมีการส่งข้อความ SMS ประเภทรหัสยืนยันตัวตน หรือ โอทีพี ไปให้กับลูกค้ายังสามารถเลือกใช้คำต่าง ๆ ได้อีกมากมายซึ่งถ้าไม่แน่ใจว่าควรเลือกใช้คำไหนหรือยังไม่เข้าใจเรื่องของระบบ โอทีพี ว่าควรดำเนินการอย่างไร ShortMS ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เรามีบริการ OTP Service พร้อมใช้งาน ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ให้ยุ่งยาก ตั้งค่าข้อความได้ตามต้องการ ตั้งค่าตัวเลขรหัสยืนยันได้ พร้อมกำหนดระยะเวลาหมดอายุ เพื่อความปลอดภัยของธุรกิจและลูกค้า สร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นกว่าเดิม ติดต่อเรา