เกร็ดความรู้

SMS สัญญาณอันตราย จากแก๊งค์ฟิชชิ่ง (Phishing)

Pinterest LinkedIn Tumblr

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นกฎหมายที่เข้มงวดมาก แต่ก็ยังเป็นช่องโหว่ให้กับแก๊งค์ฟิชชิ่งที่ต้องการส่งข้อความ sms มาเพื่อหลอกลวง ล้วงข้อมูลที่สำคัญของผู้บริโภค 68% รายงานว่าผู้บริโภคได้รับข้อความสแปมอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยหากจะได้รับข้อความที่เป็นสแปม เพราะฐานข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ของผู้บริโภคจะตกไปอยู่กับธุรกิจแบรนด์ต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจและยินยอมให้ข้อมูล

นี้จึงเป็นโอกาสที่แก๊งค์ฟิชชิ่ง สามารถล่วงรู้ฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของผู้บริโภค หรือแม้กระทั้งชื่อ – สกุล ทาง Shortms พร้อมที่จะแชร์สัญญาณอันตรายจากแก๊งค์ฟิชิ่ง และช่วยให้ผู้บริโภคอย่างคุณสามารถรู้ทัน และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลสำคัญของคุณให้ปลอดภัยจากแก๊งค์ฟิชชิ่งนี้ และมาเรียนรู้วิธี ยกเลิก sms

ลักษณะของข้อความหลอกลวง

ข้อความหลอกลวง คือข้อความที่ส่งเพื่อจุดประสงค์ที่ต้องการให้ทางผู้บริโภคแชร์ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ และข้อมูลการเงินของผู้บริโภค เช่น รหัสผ่านอีเมล รหัส OTP หรือหมายเลขบัญชีธนาคาร โดยเป็นข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือได้อย่างง่ายดาย

และแก๊งค์ฟิชชิ่งที่ทำการส่งข้อความเหล่านั้น จะพยายามแชทพูดคุยกับผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคไว้วางใจ และพร้อมที่จะที่จะแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ เพื่อให้ทางแก๊งค์ฟิชชิ่งปลดล็อคบัญชีที่สำคัญ ๆ ของผู้บริโภค  และมีอีกวิธีที่อันตรายไม่แพ้กัน นั้นก็คือการส่งข้อความมาพร้อมกับลิงค์ เพื่อให้ผู้บริโภคคลิกลิงค์ในข้อความนั้น ๆ เพื่อไปยังเว็ปไซต์ปลอม ซึ่งข้อมูลที่ผู้บริโภคกรอกไปน้้นถูกบันทึกเพื่อให้แก๊งค์ฟิชชิ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในทางที่เสียหายแก่ผู้บริโภค

และที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือ หากผู้บริโภคเปิดอ่านข้อความแล้วคลิกที่ลิงค์เพื่อไปดาวโหลดโปรแกรมมัลแวร์ลงในโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค โปรแกรมมัลแวร์นั้นจะสามาถขโมยข้อมูลสำคัญ โดยที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว ซึ่งข้อความที่มีลักษณะหลอกลวงที่ต้องระวังจะมีลักษณ์ดังนี้

  • สัญญาของรางวัลฟรีและเงินสด
  • ข้อเสนอสำหรับบัตรเครดิตหรือสินเชื่อ (โดยเฉพาะดอกเบี้ยต่ำ) การส่งเหล่านี้ผิดกฎหมายแม้ว่าจะมาจากบริษัททางการเงินที่มีชื่อเสียงก็ตาม
  • เงินคืนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล
  • ใบแจ้งหนี้ปลอม
  • ลิงค์สุ่มเพื่อชำระเงินให้เสร็จสิ้น
  • การแจ้งเตือนเกี่ยวกับกิจกรรมบัญชีที่น่าสงสัยที่ขอให้คุณยืนยันหรือแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล
  • การแจ้งเตือนการจัดส่งพัสดุที่ขอให้คุณตั้งค่ากำหนด ข้อความเหล่านี้มักจะหลอกลวง (หรือไม่ควรเชื่อถือได้) เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่กฎหมายห้ามส่ง

วิธีป้องกันข้อมูลจากแก๊งค์ฟิชชิ่ง

หากผู้บริโภคเคยได้รับข้อความที่ไม่มีสัญญาณของการหลอกลวง แต่ไม่ใช่ข้อความที่ผู้บริโภคเคยสมัครไปกับธุรกิจหรือแบรนด์ต่าง ๆ ที่ต้องการรับข้อมูล ผู้บริโภคสามารถกดรายงานว่าเป็นข้อความสแปม หรือโทรไป ยกเลิก sms หรือ ยกเลิกการรับข้อความต่าง ๆ ได้ผ่านบริกร *137 ได้อย่างง่าย

การเตรียมการรับมือกับข้อความหลอกลวง

หากผู้บริโภคได้รับข้อความที่ดูแล้วไม่ใช่ข้อความปกติ มีแนวโน้มเป็นข้อความหลอกลวง เมื่อได้รับข้อความดังกล่าวแล้ว สามาารถรายงานสแปมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เลย แต่ก่อนอื่นเลย ผู้บริโภคต้องจะต้องทำการอ่านและตรวจสอบข้อความให้แน่ใจก่อนว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นข้อความหลอกลวงหรือไม่ ซึงสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. หากผู้บริโภคได้รับข้อความที่คาดว่าเป็นข้อความหลอกลวง ให้ตั้งสติและใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งรีบกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะถ้าหากพลาดไปแล้ว ผู้บริโภคก็จะตกหลุมพรางของแก๊งฟิชชิ่งได้ในทันที
  2. อย่าคลิกลิงค์ต่าง ๆ ที่ถูกส่งมาพร้อมข้อความโดยเด็ดขาด เพราะนั้นอาจจะเป็นข้อความหลอกลวง
  3. ลบข้อความที่คิดว่าเป็นข้อความหลอกลวง อย่าเสี่ยงที่จะตอบกลับหรือบันทึกเนื้อหานั้นในโทรศัพท์
  4. รายงานสแปม ผู้บริโภคสามารถรายงานสแปมข้อความที่น่าสงสัยได้โดยตรงไปยังผู้ให้บริการของคุณ

เมื่อรู้ทันแล้วว่าข้อความต่าง ๆ ที่ได้รับมาหรือไม่นั้น เป็นข้อความหลอกลวงหรือไม่นั้น ผู้บริโภคก็สามารถจัดการกับข้อความต่าง ๆ ได้อย่างมีสติ และปลอดภัยจากแก๊งค์ฟิชชิ่งได้อย่างง่ายดายและปลอดภัยจากการถูกลวงข้อมูลส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติม